วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ เหตุการณ์และผลงานที่สำคัญ



*******************************************

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

*******************************************



Charles Babbage

Charles Babbage  ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine เมื่อปี ค.ศ. 1822 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนและคำอนุญาติจากรัฐบาล เมื่อปี ค.ศ. 1823 แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องดังกล่าวของแบบเบจก็สร้างได้ไม่สมบูรณ์แบบ เหตุผลหนึ่งที่แบบเบจตัดสินใจหยุดโครงการพัฒนาเครื่อง Difference Engine  เนื่องจากได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณของเครื่องดังกล่าว จนกระทั่งต่อมา แบบเบจก็ได้ทำการพัฒนาเครื่องใหม่ภายใต้ชื่อว่า  Analytical Engine ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนหน่วยความจำ(Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชันหน้าที่หลายๆ อย่างเช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ดังนั้นแบบเบจจึงถูกขนานนามให้เป็น  “บิดาแห่งคอมพิวเตอร์” เป็นต้นมา

Lady Augusta Ada Byron 

Lady Augusta Ada Byron เป็นสตรีคนสำคัญคนหนึ่งที่ช่วยออกแบบเครื่องของแบบเบจ อีกทั้งยังได้เสนอแนวคิดแหละเป็นผู้เขียนโปรแกรมชิ้นแรกเพื่อใช้กับเครื่องดังกล่าว ต่อมาเธอก็ได้ถูกขนานนามให้เป็น “โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก” ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอดา ว่า ภาษา “ADA

Herman  Hollerith  

Herman  Hollerith  ในปี ค.ศ.1887 เฮอร์แมน ฮอลเลอริธ (Herman  Hollerith ) ได้ทำการพัฒนาเครื่อง Tabulating Machines ขึ้น  ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรู สามารถจัดเรียงบัตรมากกกว่า 200 ใบต่อนาที และก็ได้นำมาชั้งานสำรวจสำมะโนประชากรของชนอเมริกันหลายครั้งด้วยกัน และต่อมา ในปี ค.ศ. 1896 เฮอร์แมนก็ได้ทำการก่อตั้งบริษัทตนเองขึ้นมาภายใต้ชื่อว่า The Tabulating Machine Company และอีกไม่นานต่อมาก็ได้ทำการรวมบริษัทกว่า  10  แห่งด้วยกันและก่อตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อว่า International Business Machines ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บริษัทคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกซึ่งก็คือบริษัท IBM นั่นเอง

Alan Turing 

Alan Turing แอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) (ค.ศ. 1912) – (ค.ศ. 1954) เป็นนักคณิตศาสตร์,นักตรรกศาสตร์,นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริง ได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุกๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอินิกมา ที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ  หลังจากสงครามเขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริงๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริง ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้ นอกจากนั้นแล้ว การทดสอบของทัวริงที่เขาได้เสนอนั้นมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งในขณะมีถกเถียงที่สำคัญว่า : เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักร์นั้นมีสำนึกและสามารถคิดได้

Konrad  Zuse Z3 

Konrad  Zuse Z3 ของประเทศเยอรมนี ออกแบบใน ค.ศ. 1941 โดย Konrad Zuse เป็นคอมพิวเตอร์ไฟฟ้าจักรกลอเนกประสงค์เครื่องแรก มันเป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัล ใช้เลขคณิตฐานสอง เป็นทัวริงบริบูรณ์ และโปรแกรมได้เต็มที่ โดยใช้เทปเจาะรู แต่ใช้รีเลย์ในการทำงานทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่ใช่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์

Prof.Howard H. Aiken 

Prof.Howard H. Aiken ในปี ค.ศ. 1937 ศาสตราจารย์ โฮเวิร์ด ไอเค็น (Professor Howard H. Aiken) ร่วมมือกับวิศวกรจากไอบีเอ็กได้สร้างเครื่อง MARK I ซึ่งเป็นการสานแนวความคิดของแบบเบจได้สำเร็จ โดยเครื่อง MARK I นี้เป็นเพียงเครื่องจักรกลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electro-Mechanical Machine) ซึ่งสร้างด้วยสวิตช์จักรกลไฟฟ้า ที่เรียกว่า ตัวรีเลย์ (Electro-Magnetic Relays) และเครื่อง MARK I ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 1944

Dr.John V. Atanasoff & Clifford Berry 
     


ปี พ.ศ.2480-2481  Dr.John V. Atanasoff & Clifford Berry ศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ ณLowa State College พร้อมผู้ช่วยชื่อ คลิฟฟอร์ด เบอรี (Clifford Berry)  ได้สร้างเครื่องคำนวณที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องแรกของโลกภายใต้ชื่อว่า เครื่อง ABC (The Atanasoff-Berry-computer)  โดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) ระบบเลขฐานมีหน่วยความจำและวงจรตรรกะเพื่อใช้กับการคำนวณทางฟิสิกส์ ซึ่งคล้ายกับเครื่องคิดเลขในปัจจุบัน ถึงแม้เครื่อง ABC จะไม่ได้รับการกล่าวขานและใช้งานอย่างจริงจัง แต่ก็ถือเป็นก้าวแรกของเครื่องคำนวณทางอิเล็กทรอนิกส์นับจากนั้นมา

Dr.John von Neumann

ดร.จอห์น ฟอน นอยมานน์ (Dr.John von Neumann) ได้สร้างแนวคิดในการจัดเก็บโปรแกรม (Storde Program Concept) โดยมีหน่วยความจำที่สามารถทำหน้าที่ในการจัดเก็บได้ทั้งข้อมูล (Data) และชุดคำสั่ง (Instructinos) และนอยมานน์ก็ได้ร่วมมือกับทีมงานเดิมที่ได้สร้างเครื่อง ENIVAC เพื่อสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer) และ EDSAC (Electronec Delay Storage Automatic Computer) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ ที่ใช้แนวคิดในการจัดเก็บโปรแกรมเป็นต้นมา

Dr.Ted Hoff 

Dr.Ted Hoff ดร.เทด ฮอฟฟ์ แห่งบริษัทอินเทลได้มีการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น Intel 4004

Steve Jobs & Steve Wazniak 

Steve Jobs & Steve Wazniak ได้สร้างแอปเปิลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแรก ภายใต้ชื่อว่า Apple llและได้รับการตอบรับถึงความสำเร็จอย่างรวดเร็วทั่วโลก เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้มีการนำไปใช้งานสถาบันการศึกษาต่างๆ และนักศึษาหลายคนก็ได้มีโอกาสสัมผัสเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก

Bill Gates 

Bill Gates บริษัทไอบีเอ็ม เสนอให้บริษัทไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นของ บิลเกตส์ ให้ทำการพัฒนาโปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี (PC-DOS) หลังจากนั้นเป็นต้นมา บิลเกตส์ก็ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ MS-DOS ขึ้นมาใช้งานบนเครื่องพีซีทั่วไป ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม






วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็นยุคๆ
 ตามช่วงเวลา และมีเหตุการณ์สำคัญๆ รวมถึงจุดเปลี่ยนแปลงเด่นๆ


      การพัฒนาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีการแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ เป็น 5 ยุค ดังนี้


ยุคที่ 1 
          UNIVAC I คือเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นยุคที่ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่ ใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum tubes) ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนสูงมาก จึงต้องใช้เครื่องปรับอากาศ การบำรุงรักษา และพื้นที่กว้างมาก สื่อบันทึกข้อมูลได้แก่ เทปแม่เหล็ก IBM 650 เป็นเครื่องที่สามารถทำงานได้ทั้งด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ หน่วยความจำเป็น ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) และใช้บัตรเจาะรู การสั่งงานใช้ภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาตัวเลข ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)


 

                            หลอดสูญญากาศ                                                        วงแหวนแม่เหล็ก


ยุคที่ 2
          ค.ศ. 1959 ทรานซิสเตอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น Solid state, semiconductor วงจรทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง ความร้อนลดลง ราคาถูกลง และต้องการพลังงานน้อยกว่าการใช้หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ในยุคที่สอง จึงมีขนาดเล็กลง แต่ความเร็วสูงขึ้น และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1

          คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic cores) เป็นหน่วยความจำ สื่อบันทึกข้อมูลหลักในยุคนี้ใช้จานแม่เหล็ก (magnetic disk packs) หน่วยความจำสำรองอื่น ๆ ยังคงเป็น เทปแม่เหล็ก และบัตรเจาะรู ในยุคนี้ มีการพัฒนาภาษาระดับต่ำ (low-level language) หรือภาษาอิงเครื่อง เป็นภาษารหัส ที่ง่ายต่อการเขียนมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ภาษาแอสเซมบลี (assembly) โดยมีโปรแกรมแปลภาษาคือ แอสเซมเบลอร์ (assembler) ทำหน้าที่แปลให้เป็นภาษาเครื่อง        

                                     เครื่องเจาะบัตร                                  ม้วนกระดาษเจาะรู



เครื่องอ่านเทป



ยุคที่ 3
          ค.ศ. 1964 IBM system/360 คือจุดเริ่มต้นของยุคที่ 3 วงจรไอซี (IC: integrated circuits) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้แทนวงจรทรานซิสเตอร์ ลักษณะของ IC เป็นแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กหรือเรียกว่า ชิป (chip) เป็นวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า ความเร็วสูงขึ้น และ ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
           เริ่มใช้วิธีการแบบ Time-sharing และการสื่อสารข้อมูล ความสามารถในการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเรียกว่า multi-programming ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงสำหรับเขียนโปรแกรม เช่น FORTRAN, COBOL เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปแพร่หลายมากขึ้น เครื่องขนาด มินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก คือ PDP-8 ของ the Digital Equipment Corporation ในปี ค.ศ. 1969      


                                        เครื่องอ่านเทปแม่เหล็ก                                            เทปแม่เหล็ก


ยุคที่ 4
          ค.ศ. 1970 เทคโนโลยีหลักที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ วงจร LSI (large-scale integration) เป็นวงจรรวมของวงจรตรรกะ (logic) และ หน่วยความจำ (memory) ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันวงจรไว้บนแผงซิลิกอนซึ่งเป็นชิปขนาดเล็ก และถูกนำมาใช้เป็นชิปหน่วยความจำแทนวงแหวนแม่เหล็ก (ซึ่งใช้ในยุคที่ 2 และยุคที่ 3) ค.ศ. 1971 ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ตัวแรกที่เกิดขึ้นคือ Intel 4004 เป็นวงจรรวมหน่วยประมวลผลหลักไว้บนชิปเพียงตัวเดียว ต่อมา ค.ศ. 1974 จึงมีการพัฒนา Intel 8080 เพื่อใช้ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ Altair 8800 ต่อมา ค.ศ. 1978 Steve Jobs และ Steve Wozniak จึงพัฒนา Apple II ออกมาจำหน่าย และปี ค.ศ. 1981 IBM พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายเช่นกัน กลางปี ค.ศ. 1980 พบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนหลายล้านเครื่องถูกใช้ในบ้าน โรงเรียน และในธุรกิจ
          ในยุคนี้อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลโดยตรง เช่น Keyboard (แป้นพิมพ์) electronic mouse (เมาส์) light pen (ปากกาแสง) touch screen (จอสัมผัส) data tablet (แผ่นป้อนข้อมูล) เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ แสดงข้อภาพ กราฟิก และเสียง เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในเวลาต่อมา ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม คล้ายกับภาษามนุษย์มากขึ้น เกิดระบบจัดการฐานข้อมูล และภาษาในยุคที่ 4 หรือภาษาธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเท่านั้น ยังช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องบอกวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพียงแต่บอกว่า งานอะไร ที่พวกเขาต้องการเท่านั้น โปรแกรมสำเร็จรูปในยุคนี้ ได้แก่ electronic spreadsheet (ตารางทำงาน) , word processing (ประมวลผลคำ) เช่น ค.ศ. 1979 โปรแกรมวิสิแคล (VisiCalc electronic spreadsheet program) และ โปรแกรมเวิร์ดสตาร์ (WordStar word processing) ค.ศ. 1982 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล DBASE II และ โปรแกรมตารางทำงาน Lotus1-2-3 เป็นต้น   

                                                                                          LSI Chip


 ยุคที่ 5
          เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ สามารถคิด มองเห็น ฟัง และพูดคุยได้ โครงสร้างคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไปจากเดิม การประมวลผลข้อมูลเป็นแบบขนาน (Parallel) แทนแบบอนุกรม (Serially) การสร้างระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ คือหนึ่งในเป้าหมายหลักทางด้านวิทยาการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) สิ่งที่ปรากฏในยุคนี้คือ optical computer ใช้ photonic หรือ optoelectronic เป็นวงจรมากกว่าวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประมวลผลข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปฏิบัติการด้วยความเร็วใกล้กับความไวแสง ในอนาคตจะมีขนาดเล็กมาก เร็ว และ biocomputer มีอำนาจมากขึ้น จะเติบโตจากองค์ประกอบสำคัญคือการใช้เซลจากสิ่งมีชีวิตเป็นวงจร
          ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใช้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ผู้ใช้สามารถสนทนากับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยภาษามนุษย์ โปรแกรมสำเร็จรูปจะทำงานร่วมกันเป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้งานง่าย ทำหน้าที่ต่างกันเพื่อผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ไปรษณีย์เสียง (voice mail) และ การประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (teleconferencing)
          ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูง จะรวมกับการถ่ายโอนและการประมวลผลข้อมูล ภาพ และ เสียง รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber optics technology) ในการให้บริการเครือข่ายดิจิตอล
โรงงานปฏิบัติงานอัตโนมัติ ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น หุ่นยนต์ (Robotics) เปลี่ยนไปจากโรงงานธรรมดา โรงงานอัตโนมัตินี้ เป็นผลมาจากการผลักดันเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ในการผลิต การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติ
          ธุรกิจต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ค้าส่ง ค้าปลีก คลังสินค้า และโรงงาน ผู้จัดการจะอาศัยระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารมากขึ้น ผู้ใช้จะพึ่งพาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ของระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการทำงานตามหน้าที่
ทุก ๆ วัน การใช้คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วไป เช่น ระบบการโอนเงินทางธนาคาร ระบบชำระค่าสินค้า ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านวิศวกรรม เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศอัตโนมัติ ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการศึกษา Telecommuting เป็นระบบการสื่อสารเพื่อการทำงานภายในบ้าน และ ระบบ videotex สำหรับหาซื้อสินค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic shopping) การธนาคาร และบริการสารสนเทศถึงบ้าน จะมีความตื่นเต้นเร้าใจมากขึ้น สังคมจะให้ความเชื่อถือ ความมั่นใจในคอมพิวเตอร์มากขึ้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21





ยุคที่ 6
ที่ผ่านมาทั้ง 5 ยุค พัฒนาการของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทางการปรับปรุงการผลิต และการ เสริมสร้างความสามารถทางด้านการคำนวณของคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการจำกัด ความสามารถทางด้านการป้อนข้อมูล ในปัจจุบัน ความต้องการทางด้านการป้อนข้อมูลอย่างอิสระ โดยใช้เสียงและภาพ ซึ่งถือเป็นการป้อนข้อมูลโดยธรรมชาตินั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ไม่เป็นเพียงแต่เครื่องคำนวณ จึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี การติดต่อระหว่างประเทศและอื่น ๆ ในช่วงทศวรรษปี 1990 เช่น

       1) การพัฒนาด้านการผลิตของอุตสาหกรรม การตลาด ธุรกิจ      
       2) การพัฒนาทางด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ
       3) การช่วยเหลือทางด้านการประหยัดพลังงาน
       4) การแก้ไขปัญหาของสังคม การศึกษา การแพทย์

ความสามารถที่คอมพิวเตอร์ยุคที่ 6 ควรจะมี อาจแบ่งได้ดังนี้

       1) การพัฒนาปัญญาให้คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้เป็นผู้ช่วยของมนุษย์ได้ สำหรับการพัฒนาด้านปัญญาของคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า AI (artificial intelligence) อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาด้านการป้อนข้อมูลด้วยเสียงและภาพ ความสามารถในการโต้ตอบด้วยภาษาพูด ความสามารถในการเก็บข้อมูลในด้านความรู้และการนำความรู้ไปใช้ การค้นหาความรู้จากข้อมูลมหาศาสล และอื่น ๆ

       2) การลดความยากลำบากในการผลิตซอฟต์แวร์ เป็นการพัฒนาทางด้านการเขียนโปรแกรม พัฒนา ภาษาของโปรแกรมให้ง่ายขึ้น วิธีการติดต่อกับผู้ใช้ และอื่น ๆ

       3) การพัฒนาทางด้านความสามารถ อาจแบ่งย่อย ๆ ได้เป็น
              - การทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง เพื่อให้สามารถพกพาได้ และติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งโดยใช้สายและไม่ใช้สาย
              - การพัฒนาด้านความเร็ว และด้านหน่วยความจำให้เหมาะสมกับงานใหม่ ๆ ที่ยากขึ้น ข้อมูลมากขึ้น
              - การพัฒนาคอมพิวเตอร์ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ ได้
              - การพัฒนาทางด้านความปลอดภัยของข้อมูลและความเชื่อถือได้

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในโครงการคอมพิวเตอร์ยุคที่ 6 จะไม่เน้นทางด้านการคำนวณมากนัก แต่จะเน้นหนักไปที่การจัดการกับข้อมูลที่มนุษย์เข้าใจได้โดยตรงมากกว่า