...พระราชวังรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง...
พระราชวังรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง ถือเป็นพระราชวังที่มีการประกาศพระบรมราชโองการยกขึ้นเป็นพระราชวัง 1 ใน 19 แห่งของประเทศไทย และเป็นพระราชวัง 1 ใน 6 แห่งที่สร้างขึ้นตามหัวเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ตามประวัติ "พระราชวังรัตนรังสรรค์" ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2433 โดย "พระยารัตนเศรษฐี" (คอมซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตกเป็นครั้งแรกที่จะได้เสด็จไปถึงเมืองระนองในวันที่ 23-25 เมษายน 2433 พระยารัตนเศรษฐีจึงได้สร้างพลับพลาที่ประทับรับเสด็จที่บนเนินควนอันอยู่ใจกลางเมือง
แต่เนื่องด้วยนานๆครั้งจะเสด็จประพาสเมืองระนองครั้งหนึ่ง จะทิ้งวังไว้เปล่าๆก็จะชำรุดทรุดโทรม รัชกาลที่ 5 จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาติว่า ให้ใช้พระราชวังนั้นเป็นศาลารัฐบาลและทำพิธีสำหรับบ้านเมือง หากมีการเสด็จประพาสเมื่อใดจึงให้จัดเป็นที่ประทับ ซึ่งนอกจากรัชกาลที่ 5 แล้ว พระมหากษัตริย์อีก 2 พระองค์คือรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ก็ได้ใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับแรมเมื่อครั้งเสด็จประพาสเยี่ยมหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตกเช่นกัน
ตามประวัติ "พระราชวังรัตนรังสรรค์" ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2433 โดย "พระยารัตนเศรษฐี" (คอมซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตกเป็นครั้งแรกที่จะได้เสด็จไปถึงเมืองระนองในวันที่ 23-25 เมษายน 2433 พระยารัตนเศรษฐีจึงได้สร้างพลับพลาที่ประทับรับเสด็จที่บนเนินควนอันอยู่ใจกลางเมือง
แต่เนื่องด้วยนานๆครั้งจะเสด็จประพาสเมืองระนองครั้งหนึ่ง จะทิ้งวังไว้เปล่าๆก็จะชำรุดทรุดโทรม รัชกาลที่ 5 จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาติว่า ให้ใช้พระราชวังนั้นเป็นศาลารัฐบาลและทำพิธีสำหรับบ้านเมือง หากมีการเสด็จประพาสเมื่อใดจึงให้จัดเป็นที่ประทับ ซึ่งนอกจากรัชกาลที่ 5 แล้ว พระมหากษัตริย์อีก 2 พระองค์คือรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ก็ได้ใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับแรมเมื่อครั้งเสด็จประพาสเยี่ยมหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตกเช่นกัน
คอยู่หงี่) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น จึงได้ร่วมกับสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตปรับปรุงและดัดแปลงพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ใหม่ โดยสร้างเป็นรูปเรือนตึกก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ทาสีขาว ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2444 แล้วใช้อาคารหลังนี้เป็นศาลากลางเมืองระนองเรื่อยมา
กระทั่งเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2507 พ.ต.อ.บุญณรงค์ วัฒฑนายน ผู้ว่าราชการจังหวัดระนองในขณะนั้นได้รื้อถอนองค์พระที่นั่ง เพื่อสร้างเป็นศาลากลางจังหวัดหลังปัจจุบัน พระที่นั่งรัตนรังสรรค์จึงสูญหายไปจากจังหวัดระนองตั้งแต่บัดนั้น แต่ก็ยังคงมีร่องรอยเป็นบันไดและบริเวณให้เห็น โดยทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน
กระทั่งเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2507 พ.ต.อ.บุญณรงค์ วัฒฑนายน ผู้ว่าราชการจังหวัดระนองในขณะนั้นได้รื้อถอนองค์พระที่นั่ง เพื่อสร้างเป็นศาลากลางจังหวัดหลังปัจจุบัน พระที่นั่งรัตนรังสรรค์จึงสูญหายไปจากจังหวัดระนองตั้งแต่บัดนั้น แต่ก็ยังคงมีร่องรอยเป็นบันไดและบริเวณให้เห็น โดยทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน
ในปี พ.ศ.2545 จังหวัดระนองได้มีโครงการก่อสร้างพระที่นั่งรัตนรังสรรค์จำลองขึ้นบนเนินเขานิเวศน์คีรี ใกล้เคียงกับบริเวณเดิมตัวอาคารสร้างด้วยไม้ตะเคียนทองโครงสร้างคอนกรีตสูงสามชั้น ชั้นล่างโล่ง ชั้นที่สองเป็นรูปเหลี่ยมแปดด้าน ปัจจุบันประดิษฐานโต๊ะทรงพระอักษรพร้อมพระเก้าอี้ทำด้วยหนังแท้ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับที่พระที่นั่งวิมานเมฆพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และพระเก้าอี้ทรงพักผ่อนแกะสลักลวดลายเป็นรูปดอกกุหลาบ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยทรงใช้เป็นที่ประทับและบรรทม ส่วนหลังคาชั้นที่สามทรงปั้นหยา มีดั้งประดับไม้ลวดลายฉลุอย่างสวยงาม
นอกจากนี้ก็ยังมีหอแปดเหลี่ยมที่มีความสูงประมาณ 17 เมตร คล้ายคลึงกับ หอวิฑูรทัศนา ที่พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบผสมผสาน คือหลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยประดับเชิงชายไม้ฉลุซ้อนกันอย่างพม่า
ส่วนบริเวณชั้นสองมีระเบียงไม้ประดับกันตก สามารถเดินชมทิวทัศน์ได้โดยรอบ พื้นเฉลียงปูกระเบื้องดินเผา มีหลังคาคลุม ช่องประตูเป็นรูปโค้งทั้งแปดด้าน จากชั้นสองถึงชั้นสาม มีบันไดเวียนภายในขึ้นไปบนชั้นสาม ซึ่งมีหน้าต่างสามารถชมทัศนียภาพบริเวณหน้าพระที่นั่ง ตัวเมืองระนองด้านทิศตะวันตก ชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่า นอกจากนี้ยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินบริเวณทะเลอันดามันได้อย่างสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองระนองด้วย
ส่วนบริเวณชั้นสองมีระเบียงไม้ประดับกันตก สามารถเดินชมทิวทัศน์ได้โดยรอบ พื้นเฉลียงปูกระเบื้องดินเผา มีหลังคาคลุม ช่องประตูเป็นรูปโค้งทั้งแปดด้าน จากชั้นสองถึงชั้นสาม มีบันไดเวียนภายในขึ้นไปบนชั้นสาม ซึ่งมีหน้าต่างสามารถชมทัศนียภาพบริเวณหน้าพระที่นั่ง ตัวเมืองระนองด้านทิศตะวันตก ชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่า นอกจากนี้ยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินบริเวณทะเลอันดามันได้อย่างสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองระนองด้วย
(Cr.ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000072298 )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น